TOP
วัดที่นิยมจัดงานฯ-วัดหัวลำโพง
03/04/2022

อุทิศบุญ ร้านพวงหรีดกระดาษออนไลน์ที่มีบริการจัดส่งฟรี ครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล มีพวงหรีดกระดาษสวยๆให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ที่มีการออกแบบสวยงามเหมือนดอกไม้จริง ในราคาที่คุ้มค่า การสั่งซื้อพวงหรีดกับเรานอกจากการนำไปไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์แล้ว รายได้ส่วนหนึ่งทางร้านจะนำไปบริจาคให้แก่องค์กรการกุศลต่อไปอีกด้วย การสั่งซื้อพวงหรีดกับเรา จึงเสมือนได้ทำบุญไปในตัวอีกช่องทางหนึ่ง 

นอกจากนี้ทางร้านยังเข้าใจลูกค้าเป็นอย่างดี เราจึงคำนึงถึงการบริการอย่างครบครัน ทั้งจัดส่งพวงหรีดถึงหน้าพิธี การออกใบกำกับภาษี และการออกใบอนุโมทนาสำหรับการลดหย่อนภาษี ฯลฯ 

ช่องทางการสั่งพวงหรีด

 0959455999 |   contact@uthitboon.com |   @uthitboon

วัดหัวลำโพง

วัดหัวลำโพง เดิมชื่อ "วัดวัวลำพอง" เป็นวัดราษฎร์ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัด แต่คาดว่าคงสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์จากการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ดั้งเดิมของวัด 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และพระราชทานนามแด่สถานีกรุงเทพฯ ว่า สถานีหัวลำโพง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพอง ประมาณ 2 กิโลเมตร

ปีพ.ศ. 2447 จากหลักฐานและคำบอกเล่ากล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐิน ณ วัดต่าง ๆ สามแห่ง ตามลำดับคือ วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) วัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) และวัดวัวลำพอง (วัดหัวลำโพง)

ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐิน ที่วัดวัวลำพองนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ พระราชทานนามว่า วัดหัวลำโพง และทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เจ้าอาวาสคือ พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาธุระที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งในครั้งนั้น วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 วัดหัวลำโพงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ


ที่ตั้ง เลขที่ 728 ถนนพระรามที่ 4 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

ประเภท พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

นิกาย เถรวาท มหานิกาย


การเดินทางไปยังวัดหัวลำโพง

 รถไฟใต้ดิน: สายเฉลิมรัชมงคล MRT BLUE LINE

รถบัส: 172 (ปอ.) (AC), 4, 40, 40 (ปอ.) (AC), 50


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ทำไมต้องเป็นพวงหรีดอุทิศบุญ

สำรวจแนวทางการบริจาคเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พวงหรีดและสาเหตุของการสร้างที่แสนซึ้ง

วัดในกรุงเทพฯ ที่นิยมเป็นสถานที่จัดงานณาปนกิจ